fbpx

ผลกระทบเชิงรายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลในช่วงโควิด-19

นับตั้งแต่เริ่มการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในหลายอุตสาหกรรม จนทำให้ต้องหยุดชะงักลงหรือปิดกิจการอย่างถาวรไปในที่สุด รวมทั้งยังส่งผลต่อตลาดหุ้นที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมให้มีการเติบโตไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากนั้น หลังจากผ่านพ้นจุดวิกฤติไปแล้ว หุ้นกลุ่มนี้ยังเป็นหุ้นกลุ่ม “Defensive Stock” ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด แล้วยังได้รับผลพลอยได้จากวัคซีนโควิค-19 ที่กำลังจะมาในไทยอีกไม่ช้านี้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ในการให้บริการกับกลุ่มผู้ป่วยได้

สำหรับข้อมูลของหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลไทยทั้ง 5 แห่ง ในด้านผลประกอบการบริษัทไตรมาส 3 ปี 2563 (Q3/2020) เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 (Q2/2020), ปริมาณการซื้อขาย, มูลค่าทางการตลาดสูงสุด และ มูลค่ากิจการ (Market Cap.) มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ซึ่งทีมงาน MODERNIST ได้สรุปเอามาให้ดังนี้

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS)

โรงพยาบาลในเครือ   : โรงพยาบาลกรุงเทพ, พญาไท, สมิติเวช, เปาโล, BNH
Q2/2020            รายได้ 13,968 ล้านบาท            
Q3/2020            รายได้ 17,060 ล้านบาท  
ปริมาณการซื้อขาย    18,672,544 บาท
มูลค่าทางการตลาดสูงสุด : 387,801.26 บาท
Market Cap.         : 3.48 แสนล้านบาท

BDMS ในไตรมาส 3/2563 มีรายได้จากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น 2,999 ล้านบาท จากไตรมาส 2/2563 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น 2,991 ล้านบาท โดยมีการเติบโตที่ดีขึ้นจากรายได้ของผู้ป่วยทั้งชาวไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ของสัดส่วนรายได้ของผู้ป่วยชาวต่างชาติมีการปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 จากไตรมาส 2/2563 เนื่องจากผู้ป่วยชาวต่างชาติกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการครองเตียงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39 ในไตรมาส 2/2563 เป็นร้อยละ 48 ในไตรมาส 3/2563

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (BH)

โรงพยาบาลในเครือ   : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Q2/2020            รายได้ 2,483 ล้านบาท              
Q3/2020            รายได้ 2,948 ล้านบาท  
ปริมาณการซื้อขาย    : 5,369,689 บาท
มูลค่าทางการตลาดสูงสุด : 662,142.29 บาท
Market Cap.         : 9.37 แสนล้านบาท  

BH ในไตรมาส 3/2563 มีรายได้จากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 จากไตรมาส 2/2563 โดยสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติ ร้อยละ 29.1 และ 8.6 ตามลำดับ ผลรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน การจัดการควบคุมต้นทุนต่าง ๆ หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทในไตรมาส 3/2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.3 จากไตรมาส 2/2563 และอัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA Margin) คิดเป็นร้อยละ 18.3 ในไตรมาส 3/2563 เทียบกับร้อยละ 12.9 ในไตรมาส 2/2563

บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) (CHG)

โรงพยาบาลในเครือ   : โรงพยาบาลจุฬารัตน์
Q2/2020            รายได้ 1,150 ล้านบาท              
Q3/2020            รายได้ 1,467 ล้านบาท  
ปริมาณการซื้อขาย    : 12,910,302 บาท
มูลค่าทางการตลาดสูงสุด : 31,904.79  บาท
Market Cap.         : 2.79 แสนล้านบาท  

CHG ในไตรมาส 3/2563 มีรายได้จากการดำเนินงาน 1,467 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2/2563มีรายได้ 1,150 ล้านบาท สาเหตุเกิดจากรายได้โครงการประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้จากคนไข้เงินสดหดตัวลง ส่วนรายได้ในกลุ่มผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากกสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ป่วย A-Class เป็นอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มต่างชาติที่ได้รับผลกระทบจากการปิดน่านฟ้า ส่งผลให้ยอดรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติลดลงในช่วงที่สถานการณ์โรคระบาดรุนแรงขึ้น

บริษัท บางกอก เซน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) (BCH)

โรงพยาบาลในเครือ   : โรงพยาบาลเกษมราษฎร์, เวิลดิ์เมดิคอล, การุญเวช
Q2/2020            รายได้ 2,103 ล้านบาท              
Q3/2020            รายได้ 2,378 ล้านบาท  
ปริมาณการซื้อขาย    : 8,132,834 บาท
มูลค่าทางการตลาดสูงสุด : 109,719.72 บาท
Market Cap.         : 3.46 แสนล้านบาท

BCH ในไตรมาส 3/2563 มีรายได้จากการดำเนินงาน 2,378 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 275 ล้านบาท จากไตรมาส 2/2563 เป็นผลมาจากการชะลอตัวของอัตราการใช้บริการผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยต่างชาติยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการเดินทางเข้ามาภายในประเทศ และเที่ยวบินพาณิชย์ที่เปิดให้บริการอย่างจำกัด และค่าบริการตรวจคัดกรอง COVID-19 รวมถึงรายได้ส่วนเพิ่มจากการให้บริการสถานกักกันทางเลือกแก่ที่ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและบริการสถานพยาบาลกักกันทางเลือกสำหรับผู้เดินทางเข้ามาภายในประเทศเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยโรคที่ไม่สัมพันธ์กับ COVID-19

ส่วนรายได้โครงการประกันสังคมสำหรับไตรมาส 3/2563 จำนวน 912.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2562 จำนวน 62.35 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้บริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง และการใช้บริการด้านอื่น ๆ ที่ถูกเลื่อนมาจากไตรมาส 2/2563 นอกจากนี้บริษัทได้มีการรับรู้รายได้ส่วนเพิ่มสำหรับบริการทางการแพทย์ตามภาระเสี่ยงซึ่งเป็นรายได้ค้างจากการเบิกจ่ายจากงบประมาณส่วนที่เหลือของปี 2562

บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) (VIBHA)

โรงพยาบาลในเครือ   : โรงพยาบาลวิภาวดี , โรงพยาบาลวิภาราม, โรงพยาบาลเจ้าพระยา, โรงพยาบาลนวนคร
Q2/2020            รายได้ 1,268 ล้านบาท             
Q3/2020            รายได้ 1,608 ล้านบาท  
ปริมาณการซื้อขาย    : 4,516,560 บาท
มูลค่าทางการตลาดสูงสุด : 6,606.70 บาท
Market Cap.         : 2.47 แสนล้านบาท      

VIBHA ในไตรมาส 3/2563 มีรายได้จากการดำเนินงาน 1,608 ล้านบาท รายได้ฟื้นตัวดีเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563 สาเหตุหลักมาจากจำนวนคนไข้เริ่มกลับมาใช้บริการมากขึ้น หลังจากที่รัฐบาลคลาย Lockdown อย่างโรงพยาบาลวิภาวดี และโรงพยาบาลในเครือส่วนใหญ่นั้นเน้นลูกค้าในประเทศ ในขณะที่บริษัทก็มีรายได้จากการให้บริการใหม่อย่างการตรวจ COVID-19 และรายได้จากโรงแรมปริ๊นส์ตั้นพาร์คสวีท ได้เข้าร่วมโครงการ Alternative State Quarantine

หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลทั้ง 5 ตัว จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่มีการผลประกอบการที่ดีเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สาเหตุการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในประเทศและต่างประเทศที่เข้ามาให้บริการมากขึ้น หลังจากคลายล็อกดาวน์ไปแล้ว การให้บริการสถานกักกันแก่ผู้ป่วยที่เดินทางจากต่างประเทศ การได้รับสิทธิจากประกันสังคมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งได้รับปัจจัยบวกจากการที่ความคืบหน้าการได้รับวัคซีน Covid-19 ในไทย ซึ่งทางโรงพยาบาลหลายแห่งจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการ อยู่ในระหว่างการขึ้นทะเบียนอนุมัติจากทาง อย. ส่งผลต่อหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่มีความเป็นได้ในการให้บริการวัคซีนอย่าง BDMS และ BCH ที่มีจุดให้บริการหลายแห่ง และ รพ.ที่จับตลาดกลาง-บน อย่าง BH ส่วน VIBHA ได้มีการเจรจากับทาง อย. ในการนำเข้าวัคซีนโควิดจาก Moderna

สำหรับหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในไตรมาส 4/2020 ต้องมาลุ้นผลกันอีกครั้งว่าจะสามารถฟื้นตัวหรือไม่ในหุ้นทั้ง 5 บริษัทที่กล่าวมา รวมทั้งในปี 2564 คาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเมื่อปีก่อน จากที่ได้รับข่าวดีด้านวัคซีนโควิด-19 รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้กลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ต้องจับตาดูสำหรับหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในปี 2564 ว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้อย่างไร

ข้อมูลจาก
www.set.or.th
www.settrade.com


เรื่อง: วีรดา ชื่นชวนสังคม | Content Creator
Infographic: ทินวุฒิ ลิวานัค | Art Director

Content Creator

Graphic Designer

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า